วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานการเขียนย่อความ (ปาฐกถา)

ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง การวางรากฐานพลังงานไทยเพื่ออนาคต
โดย ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อคำกล่าวปาฐกถาพิเศษซึ่งได้กล่าวไว้ในการสัมมนาประจำปี 2554 ของมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมว่า การกำหนดนโยบายพลังงานที่ถูกต้องควรมองในระยะยาว โดยต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม สิ่งที่ควรทำ คือ วางกรอบนโยบายพลังงานให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งในระยะสั้นและระยาว แล้วจึงหาวิธีการจัดสรรให้เหมาะสม เป็นธรรม และโปร่งใสมากที่สุด  โดยแบ่งเป็น 7 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้
           1.  ภาคเอกชน   ปัจจุบันภาคเอกชนมีศักยภาพมากขึ้นในกิจการด้านพลังงาน เช่น การขุดเจาะน้ำมัน การพัฒนาสร้างโรงไฟฟ้า การประหยัดและการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งภาครัฐควรจะค่อย ๆ ลดบทบาทลง โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผนด้านพลังงาน และกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการทุกรายได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเป็นที่มาของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 กฎหมายนี้มีประโยชน์หลายด้าน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในกิจการพลังงานและสร้างความเป็นธรรม แต่เสียดายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประเทศไทยอยู่ในระบบผูกขาดมานานมาก ปัจจุบันมีกฎหมายที่ทำให้เกิดการแข่งขันด้านพลังงานแล้ว และภาคเอกชนก็มีความพร้อมที่จะแข่งขัน ดังนั้น จึงควรกลับมาทบทวนกันใหม่ว่า การแข่งขันและบทบาทของภาคเอกชนด้านพลังงานจะทำอย่างไรต่อไป
           2.  ความโปร่งใสชัดเจนและความแน่นอนของนโยบายภาครัฐ  การไม่ชัดเจนของการกำหนดนโยบายของรัฐจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการลงทุนของผู้ประกอบการเอกชน (SPP, VSPP) โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎ ระเบียบของรัฐ  เช่น การเปลี่ยนนโยบายส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (adder) การยกเลิกหรือลดอัตราเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯสำหรับน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ เป็นต้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงในระยะยาว ก็คือ ภาคเอกชนจะไม่เชื่อมั่น  เกิดความไม่มั่นใจ และจะไม่ให้ความร่วมมือกับนโยบายภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นประเทศที่การผลิตเชื้อเพลิงแก๊สชีวภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก แต่ความไม่ชัดเจนของการกำหนดนโยบายจะทำลายความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในระยะยาว เพราะฉะนั้น หากจะยังคงให้ภาคเอกชนมีบทบาทด้านพลังงานมากขึ้น ความชัดเจนของนโยบายภาครัฐเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงเรื่องความโปร่งใส
           3.  นโยบายราคาพลังงาน  คือ หัวใจของการที่จะทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ การบิดเบือนราคา ทำให้คนเลือกใช้เชื้อเพลิงผิดประเภท ในอดีตประเทศไทยทำได้ค่อนข้างดี การยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมัน โดยให้ราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบิดเบือนราคาน้ำมัน การอุดหนุนหรือตรึงราคาน้ำมันด้วยเหตุผลทางการเมือง จะทำให้เกิดการใช้น้ำมันอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมัน จากข้อมูลรายงานประจำปีของ International Energy Agency (IEA) ปี 2553 ระบุว่า หากจะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน มาตรการที่จำเป็น คือ ต้องยกเลิกการชดเชยราคาพลังงาน ซึ่งที่ผ่านมาการชดเชยราคาน้ำมันที่บอกว่าเพียงชั่วคราวกลายเป็นไม่ชั่วคราว เพราะการยกเลิกการอุดหนุนเป็นไปค่อนข้างยาก เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ขอฝากไว้ที่ผู้กำหนดนโยบาย เพราะภาระการอุดหนุนราคาน้ำมันก็จะกลับมายังประชาชนในที่สุด  ในปัจจุบันมีเครื่องมือ/กลไกในการบริหารราคาน้ำมันแทนการตรึงราคาหรือกำหนดเพดานราคาขายปลีกราคาน้ำมันที่สามารถดำเนินการได้ แต่ยังไม่ได้มีการเริ่มทำ เช่น การทำบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมัน(Hedging) ซึ่งหากต้องการให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ ก็ทำประกันความเสี่ยงไว้ที่ระดับนั้น ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดเพดานราคาน้ำมันได้ช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล โดยใช้วิธี Hedging ร่วมกับกองทุนน้ำมันฯ
          4.  การกระจายแหล่งพลังงานและการจัดหาแหล่งพลังงานในระยะยาว  ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)เดิม จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลายๆ ประเทศหวังว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน หากไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50%ในปี 2050 แต่ปัจจุบันการผลักดันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจเป็นไปได้ยากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นรั่วไหลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ  จึงต้องหันไปจัดหาพลังงานอื่น เช่น ก๊าซ LNG หรือพลังงานหมุนเวียน ซึ่งต้นทุนยังคงสูงกว่าราคาเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงจำเป็นต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ
           5.  การประหยัดพลังงาน  เป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยลดการจัดหาพลังงานเพิ่มเติม แต่ภาครัฐยังให้ความสนใจไม่มากเท่าที่ควร การจูงใจให้ผู้ใช้พลังงานจำนวนหลายล้านคนทำตามสิ่งที่รัฐแนะนำเป็นเรื่องยากเมื่อเทียบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 1,000 – 2,000 เมกกะวัตต์ ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ เช่น โครงการเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ  โครงการ ESCO FUND เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการได้ค่อนข้างดี สร้างความเชื่อมั่น แต่ยังมีอีกหลาย ๆ เรื่อง ที่ผู้ใช้พลังงานยังไม่ทราบข้อมูล โดยที่ความเป็นไปได้ที่จะสามารถลดการใช้พลังงานประเภทต่าง ๆ ลงได้อีก
           6.  การพัฒนาพลังงานในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้  ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจที่ มพส. ดำเนินการอยู่ โดยที่ผ่านมาภาครัฐและเอกชนมักมุ่งเน้นโครงการขนาดใหญ่ที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและอยู่ใกล้สายส่ง แต่ในท้องถิ่นห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ยังมีหลายพื้นที่มีแหล่งพลังงานสามารถนำมาใช้ได้ นี่คือ จุดสำคัญที่สามารถทำอะไรได้อีกมาก การพัฒนาโครงการขนาดเล็ก 3 -20 กิโลวัตต์ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ ลดการตัดไม้ทำลายป่า และลดการใช้น้ำมัน และหากยังดำเนินการต่อเนื่อง หากคิดในแง่กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้อาจจะไม่มาก แต่หาก มพส. ดำเนินการต่อเนื่องไป 5 ปีข้างหน้า  โดยพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว 10 กิโลวัตต์ รวม 100 โครงการ รวมได้ 1 เมกะวัตต์  ซึ่งก็ถือว่า มีความสำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้ เพราะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าใช้หรือต้องใช้พลังงานอื่นในการผลิตไฟฟ้าในราคาสูงมาก
           7.  ภาวะโลกร้อน  เป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่าไกลตัว ไม่เหมือนการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการหลายอย่างที่ประเทศต่างๆ กำหนดขึ้นมา มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การกำหนดนโยบายของไทย หนีไม่พ้นที่จะต้องคำนึงถึงภาวะโลกร้อน  เป็นที่ทราบกันดี นโยบายแรกที่มีผลออกมาแล้ว ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจของประเทศไทย คือ EU Emission Trading System ซึ่งกำหนดให้เครื่องบินที่บินเข้าออกสหภาพยุโรปต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกินอัตราที่กำหนดตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป ถ้าเกินต้องไปซื้อ Certified Emission Reductions (CERs) ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นเรื่องดี แต่กติกาที่ออกมามีความไม่เป็นธรรม จึงเป็นบทเรียนของผู้กำหนดนโยบายของประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญและติดตามการออกนโยบายของประเทศต่างๆ ในเรื่องการกำหนดมาตรการเรื่องภาวะโลกร้อน และมีอีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะฝากไว้ คือ ที่ผ่านมามีโครงการที่ผ่านการพิจารณาขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) ไปแล้วจำนวน 60 โครงการ เทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซ CO2 8.8 ล้านตัน/ปี ซึ่งเมื่อนับจากการตั้ง TGO มาแล้ว 5 ปี มีโครงการที่ผ่านการรับรองจาก EB  เพียง 6 โครงการ ทำให้การบินไทยต้องไปซื้อ CERs จากประเทศจีนและอินเดีย บทเรียน คือ จะมีนโยบายต่างๆ ในเรื่องนี้ออกมาอีก ซึ่งจะกระทบธุรกิจอื่นๆ ต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ถ้าปล่อยให้นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำหนดเอง ก็จะมีนโยบายแปลกๆ ออกมา และเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากมีการกำหนดนโยบายออกมาแล้ว การจะแก้ไขทำได้ยากมาก

28 กันยายน 2554

วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ใบงานเรื่องการเขียนย่อความ (บทความ)

บทความ
เรื่องถีบฉันหน่อยซิ
          ในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมานี้ คนไทยหันมาใส่ใจ และให้ความสำคัญกับการปั่นจักรยาน  เพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย (มีตัวเลขประมาณการคร่าว ๆ ว่าในขณะนี้มีประมาณ 5 แสนคน)   และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนเชื่อว่าการปั่นจักรยาน Bike for Dad และ Bike for Mom เป็นตัวช่วยจุดกระแสที่สำคัญอีกแรงหนึ่ง ทำให้เกิดกระแสการปั่นจักรยาน เป็นผลให้มีร้านขายจักรยานผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดแทบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
          “สนามเขียว” ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณขอบรอบนอกของสนามบินสุวรรณภูมิ  กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมที่คอปั่นจักรยานทั้งหลายต้องไปลิ้มลองสัมผัสบรรยากาศกัน  ระยะทาง 26 กิโลเมตร อาจฟังดูว่ายาวไกลสำหรับมือใหม่ แต่สำหรับคนที่ปั่นจักรยานเป็นประจำ  ถือเป็นระยะทางกำลังดี  สำหรับการทดสอบสมรรถภาพของรถและกำลังวังชาของผู้ขับขี่
          คำถามที่หลายคนยังคาใจคือ “ทำไมต้องเป็นจักรยาน” ในเมื่อเราสามารถออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแบบอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ตามความชอบ อายุ สรีระร่างกาย และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย โดยสรุปแล้วการปั่นจักรยานมีข้อดีตรงที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อหลายส่วน (ขา หลัง แขน หน้าท้อง)  ลดแรงกระแทกและสึกหรอของข้อเข่า (เมื่อเทียบกับการวิ่ง) ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวหลายส่วน รวมทั้งได้เดินทางท่องเที่ยวไปในตัว ได้ความสุขจากการชื่นชมธรรมชาติและภูมิทัศน์สองข้างทาง ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นกีฬาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
          ผลการศึกษาพบว่า  การปั่นจักรยานด้วยความเร็วปานกลางในเวลา 1 ชั่วโมง  เผาผลาญพลังงานได้ 400 - 600  แคลอรี
          เมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกหลายเมือง เช่น โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก)  อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) สตราสบูร์ก (ฝรั่งเศส) หรือ โบโกต้า (โคลอมเบีย) กลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเมืองน่าขี่จักรยาน เมืองเหล่านี้จะมี Bike land  มีที่จอดรถและสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้ขี่จักรยานอย่างดี บางเมืองประชากร 30 - 40% ใช้จักรยานเป็นพาหนะหลักในการเดินทางไปทำงาน  ทำให้มีการจำกัดความเร็วของรถยนต์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
          ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีประชากร 5.7 ล้านคน แต่มีรถจักรยานถึง 12 ล้านคัน ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนจักรยานต่อประชากรสูงที่สุดในโลก 
          ไต้หวันซึ่งเป็นประเทศในเอเซียที่เป็นเกาะ มีทะเลล้อมรอบประกาศว่าจะทำให้ประเทศเป็น Island of Bicycle รัฐบาลไต้หวันส่งเสริมการปั่นจักรยานอย่างมุ่งมั่นจริงจัง มีการสร้างเลนจักรยานทั่วประเทศนับพันกิโลเมตร  และกำหนดให้วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันจักรยานแห่งชาติ” มีการจัดแข่งขัน Tour de Taiwan มานานกว่า 10 ปีแล้ว  ซึ่งถือเป็นรายการปั่นจักรยานระดับโลกอีกรายการหนึ่ง
ปรับจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ ๔๔๔ https://www.doctor.or.th/article/detail/400448

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เกร็ดสาม-คำที่คนกลัวเมียต้องรู้

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ


เกร็ดสอง-คำที่มักเขียนผิด

คำที่มักเขียนผิด
คำที่มักเขียนผิด
คำที่มักเขียนผิด



เกร็ดแรก-การใช้ คะ ค่ะ

เคยเป็นมั้ยครับที่เราเขียนคำง่ายๆในชีวิตประจำวันผิด เกร็ดไทยเกร็ดแรกเราจะเริ่มจากคำว่า "คะ ค่ะ"
อ่านเจอในบทความจากกระปุก น่าสนใจเลยเอามาลงให้อ่าน
คำที่มักเขียนผิด

             ใครมั่นใจว่าตัวเองเป็นเซียนภาษาไทย ลองตอบหน่อยซิว่า คำต่อไปนี้เขียนถูกหรือผิดกันแน่จ๊ะ ?..."สวัสดีคะ", "ไปไหนกันค่ะ", "ขอบคุณมากนะค๊ะ", "ไม่ทราบเหมือนกันคะ" 
 เอ...ประโยคเหล่านี้ดูแล้วก็ไม่น่าจะเขียนผิดตรงไหนเลยใช่ไหมคะ ใครให้คำตอบแบบนี้ ต้องมารื้อฟื้นความรู้ภาษาไทยเสียใหม่แล้วล่ะ เพราะคำพวกนี้เขียนผิดล้วน ๆ แถมสมัยนี้เรายังเห็นคนใช้ คะ ค่ะ นะคะ ผิดกันเป็นแถว ๆ (อ่านแล้วก็แอบขัดใจเนอะ) พอไม่มีใครทักท้วงก็เลยใช้ผิดกันจนชินไปเลย ขืนปล่อยไว้แบบนี้ ไม่ดีแน่ ๆ
            ถึงเวลาต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่แล้วล่ะจ้ะ ด้วยเคล็ดลับการเขียน คะ ค่ะ นะคะ แบบง่าย ๆ รับรองว่าใช้ได้ถูกต้องทุกสถานการณ์ ไม่สับสนแน่นอน
            ก่อนอื่น หลายคนคงสงสัยว่า คำว่า คะ ค่ะ นะคะ เขียนอย่างไรถึงถูกต้องกันแน่ บางคนเขียน "ค๊ะ" ใส่ไม้ตรีก็มี ซึ่งใครที่สงสัยเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปดูหลักภาษาไทยพื้นฐานสมัยประถมกันก่อนค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง "อักษรสูง-อักษรต่ำ", "คำเป็น-คำตาย" และการผันวรรณยุกต์
            ปกติแล้ว ที่เราผันวรรณยุกต์ 5 เสียงกันจนชิน อย่าง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า หรือ ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า เพราะตัว "ก" และ "ป" ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นอักษรกลาง คำเป็น เราเลยผันได้ 5 เสียงเต็ม ๆ แต่สำหรับ "ค" นั้น ตามหลักภาษาจัดให้เป็น "อักษรต่ำ" และถ้ามาผสมสระอะ เป็นคำว่า "คะ" จะถือเป็น "คำตาย" เพราะเป็นคำที่มีสระเสียงสั้น
            เมื่อเป็นแบบนี้ เท่ากับว่า คำว่า "คะ" เป็นอักษรต่ำด้วย และเป็นคำตายด้วย การผันวรรณยุกต์จึงผันได้เพียงแค่ 2 เสียงเท่านั้น คือ "ค่ะ" (เสียงเอก) กับ "คะ" (เสียงตรี) ดังนั้น ถ้าเห็นที่ไหนเขียน "ค๊ะ" หรือ "นะค๊ะ" เติมไม้ตรีละก็ อันนี้ผิดแน่นอนค่ะ เพราะอักษรต่ำอย่าง "ค" จะผันด้วยไม้ตรีไม่ได้เชียว เขียนได้แค่ "คะ" กับ "ค่ะ" เท่านั้น

แล้ว "คะ", "ค่ะ" ใช้ต่างกันอย่างไรล่ะ ?
            ถ้าให้ออกเสียงพูด ทุกคนคงพูดถูกอยู่แล้วล่ะ ว่าประโยคไหนควรจะใช้ "คะ" หรือ "ค่ะ" แต่ถ้าให้เขียน เชื่อว่าคนเกินครึ่งต้องสับสนกันบ้างแน่ ๆ เพราะฉะนั้น มาดูหลักการจำง่าย ๆ เลย นั่นคือ
            - "คะ" ใช้กับประโยคที่ต้องการแสดงเสียงสูง อาจเป็นประโยคคำถามหรือเรียกด้วยความสุภาพ เช่น ไปไหนกันคะ ทางนี้ใช่ไหมคะ ทานได้ไหมคะ พี่คะมาทางนี้หน่อย เข้าใจไหมคะ ฯลฯ
            - "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ทางนี้ค่ะ ไม่ชอบค่ะ ขอทางหน่อยค่ะ เชิญค่ะ รับทราบค่ะ เห็นด้วยค่ะ
            - นะคะ ใช้กับประโยคบอกเล่า หรือตอบรับเช่นกัน แต่จะดูสุภาพและเป็นทางการกว่า เช่น ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงนะคะ ไม่เข้าใจก็บอกนะคะ ไปแล้วนะคะ
            เห็นตัวอย่างการใช้คำ "คะ" "ค่ะ" "นะคะ" แล้วก็คงพอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมค่ะ อุ๊ย...ใช่ไหมคะ ต่อไปนี้เวลาส่งอีเมล แชท เล่นไลน์กับเพื่อน ก็ฝึกใช้คำเหล่านี้ให้ถูกต้องด้วยนะคะ... ไหน ๆ ลองยกตัวอย่างการเขียน คะ ค่ะ แบบถูกต้องให้ดูหน่อยซิ ^^

ใบงาน เรื่องข้อคิดจากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

  https://drive.google.com/drive/u/2/folders/1G8S5j-4o4-3CVj9jqDfdJGDDWVxZeAVQ