ใบความรู้เรื่องสำนวน
สุภาษิต พังเพย
สำนวน คือ คำพูด หรือ ถ้อยคำที่ค่อนข้างกะทัดรัด ดูไพเราะสละสลวย
สำนวนไทยจะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ
จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร
ตัวอย่างสำนวน เช่น ปากเสีย, ไขสือ ยกเมฆ, ,มือแข็ง ฯลฯ
คำพังเพย คือ ถ้อยคำที่เปรียบเทียบเหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่างๆ
ที่พบเห็นได้ในการดำรงชีวิตของคนรุ่นก่อน โดยมากไม่เน้นการสั่งสอน แต่ใช้ในทำนองเสียดสีประชดประชัน
ตำหนิ เสียดสี ว่ากล่าวเพื่อให้สะท้อนความคิด
ตัวอย่างคำพังเพย เช่น งมเข็มในมหาสมุทร, ขิงก็ราข่าก็แรง, ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ฯลฯ
สุภาษิต คือ คำกล่าวที่มีคติสอนใจ สุภาษิตจึงมีลักษณะเดียวกับสำนวนและคำพังเพย
แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้คิด
ไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม
คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย
ตัวอย่างสุภาษิต เช่น
ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว, ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน, คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ฯลฯ