วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

ใบความรู้เรื่องการเขียนชีวประวัติและอัตชีวประวัติ

ใบความรู้ เรื่อง การเขียนชีวประวัติและอัตชีวประวัติ
     ชีวประวัติ คือ งานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ

     ลักษณะของงานเขียนชีวประวัติ
๑. เป็นงานเขียนที่นำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล
๒. นำเสนอเรื่องราวหรือประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้งเกร็ดต่างๆในชีวิต
เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือการเสียชีวิตและเรื่องที่มีความสำคัญในชีวิตของบุคคลหนึ่ง
     
     ลักษณะของงานเขียนอัตชีวประวัติ
๑. เป็นงานเขียนที่นำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวของผู้เขียนเอง
๒. เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ การเสียชีวิตอีกทั้งเรื่องราวต่างๆที่สำคัญในชีวิตของตัวผู้เขียน เป็นการนำเสนอเรื่องราว ประสบการณ์และอาจเล่าถึงชีวิตที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อนโดยมากการเขียนอัตชีวประวัติจะเขียนจากความทรงจำของตัวผู้เขียนเอง    มีลักษณะใกล้เคียงกับบันทึกความทรงจำ

หลักการเขียนชีวประวัติ
·       ๑. ใช้ภาษาระดับทางการหรือกึ่งทางการ
      ๒. ศึกษาข้อมูลหรือค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติของผู้ที่เราจะเขียนประวัติ
      ๓. เนื้อหาเสนอแง่มุมที่น่าสนใจ ทั้งในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของเขา โดยอาจจะเพิ่มทัศนะความเห็นไปด้วย
      ๔. เลือกใช้ภาษาในการนำเสนอที่น่าสนใจ มีการเรียบเรียงลำดับอย่างละเอียด ชัดเจน

     หลักการเขียนอัตชีวประวัติ
     ๑. ใช้ภาษาระดับทางการหรือกึ่งทางการ
     ๒. เขียนครอบคลุมทั้งเรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตว่าคิดอย่างไร จะทำอย่างไร หรืออาจจะเล่าเหตุการณ์ คติประจำใจ หรือเหตุการณ์ที่ตนประทับใจ
     ๓. เขียนเกี่ยวกับครอบครัวของตน การศึกษา การทำงาน





ตัวอย่าง
การเขียนอัตชีวประวัติ





เกิดวังปารุสก์
                                                                       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

          ข้าเจ้า เกิดเมื่อ วันเสาร์ ที่ ๒๘ มีนาคม  ๒๔๕๐  ที่วังปารุสกวัน  กรุงเทพฯ  ก่อนที่ข้าพเจ้าจะบรรยายถึงกำเนิดของข้าพเจ้า  และเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวข้าพเจ้าเองเมื่อยังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่ ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะอธิบายเสียก่อน ว่าใครเป็นบิดาของข้าพเจ้า  เพราะว่าท่านทั้งสองย่อมสำคัญกว่าข้าพเจ้าเป็นอันมากในวาระนั้น
          บิดาของข้าพเจ้า คือ สมเด็จเจ้าฟ้า จักรพงษ์ภูวนาถ  นริศรราชมหามกุฏวงศ์ จุฬาลงกรณ์นรินทร์สยามพิชิติทรวรางกูร สมบูรณ์พิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์อรรควรรัตน์ ขัตติราชกุมาร กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นพระโอรสองค์ที่ ๔๐ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชวงศ์จักรี)  และพระองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา  บรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนี  พระพันปีหลวง  (พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
          ...แม่ของข้าเจ้าชื่อ คัทริน เดสนิตสกี (Desnjtski) บิดาของแม่ซึ่งตายเสียแต่เมื่ออายุยังไม่ถึง ๑ ขวบ คือ อิวาน เดสนิตสกี ได้รับราชการในกระทรวงยุติธรรม  และได้เป็นประธานผู้พิพากษาศาลสูงของแคว้นลุตซมียสในราชการพลเรือนสูงเท่ากับชั้นพลตรีอย่างที่เราเคยมีมาแต่ก่อน เรียกว่า มหาอำมาตย์ตรี มารดาของแม่ เกิดในตระกูล คิชเนียคอฟฟ (Khijniakoff) อันเป็นตระกูลซึ่งอยู่ใกล้เมืองเคียฟในแคว้นยูเครน ทั้งตาและยายของข้าพเจ้าเมื่อแต่งงานกันเป็นหม้ายมาแล้วทั้งคู่ และทั้งสองมีลูกติดมาด้วยหลายคน แต่เมื่อแต่งงานแล้วมีลูกด้วยกัน ๒ คน คือลุงของข้าพเจ้า  อิวาน ซึ่งได้เข้ารับราชการต่างประเทศ และเมื่อปฏิวัติใหญ่เกิดขึ้น กำลังเป็นเลขานุการเอกอยู่ที่สถานทูตรุสเซีย ณ กรุงปักกิ่ง  แม่ของข้าพเจ้าเกิดเมื่อวันที่ ๑๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๓๑ ครั้นถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ในปีเดียวกัน ตาก็ตาย ฉะนั้นแม่จึงมิได้เคยรู้จักตาเลย และยายได้เลี้ยงดูอบรมมาโดยตนเองอยู่ด้วยกันที่เมืองเคียฟ และแม่ก็ได้เคยรับการศึกษาตามสมควรแก่ฐานะ คือมีพี่เลี้ยงเป็นฝรั่งเศสเพื่อสอนภาษา และภายหลังก็ไปโรงเรียน ส่วนสมัยหยุดเรียนก็มักจะไปพักกับพี่ของยายซึ่งร่ำรวยมาก มีที่ดินของตนเองมากและบ้านช่องใหญ่โต และชอบชักชวนหลานชายและหญิงซึ่งมีมาก ให้ไปพักอยู่กับลูกชายคนเดียวของท่านในสมัยหยุดเรียน ญาติพี่น้องที่อยู่ด้วยกันเป็นหมู่ใหญ่ ก็ย่อมจะได้รับความสุขเพลิดเพลินมิใช่น้อย

















ใบงาน เรื่องข้อคิดจากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

  https://drive.google.com/drive/u/2/folders/1G8S5j-4o4-3CVj9jqDfdJGDDWVxZeAVQ